วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

กินอาหารเพื่อสุขภาพช่องปาก

     อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย แต่อีกด้านหนึ่งการกินไม่เลือก ไม่ระมัดระวังก็มีโทษสำหรับร่างกายเช่นกัน ตอนนี้เรารณรงค์ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่รับประทานแล้วน้ำหนักไม่เพิ่ม ไม่อ้วน อาหารที่กินแล้วไม่ก่อให้เกิดโรค เช่น ไขมันอุดตันในเลือด โรคหัวใจ ทางทันตกรรมก็เช่นกัน เราให้ความสำคัญในเรื่องอาหารอย่างมากในการป้องกันโรคฟันผุ โรคเหงือก

     เมื่อเรารับประทานอาหารผ่านเข้าไปในช่องปาก แบคทีเรีย ซึ่งอยู่ในรูปของแผ่นบางๆ เหนียว ที่เรียกว่าPlaque (แผ่นคราบ) จะเปลี่ยนอาหารเหล่านั้นให้เป็นกรดทำลายฟันและเหงือก แบคทีเรียเหล่านี้ชอบอาหารหวาน อาหารที่เป็นแป้งมาก

     หลังรับประทานอาหารหากยังไม่แปรงฟันทันที แบคทีเรียเหล่านี้ก็ทำหน้าที่สร้างกรดไปเรื่อยๆ ดังนั้นยิ่งรับประทานอาหารบ่อยๆ 3 มื้อหลักแล้วยังมีแทรกระหว่างมื้อ อาหารก็สัมผัสกับฟันมากขึ้นโอกาสที่ฟันและเหงือกก็ถูกทำลายมากขึ้น

     อะไรบ้างที่ ควร หรือ ไม่ควร ในการดูแลรักษาสุขภาพฟัน

     สิ่งที่ควรรับประทาน

       • ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ให้เกิดความสมดุล ขนมปัง ข้าว ซีรีอัล อาหารที่มีกากใย ผลไม้ ผัก เนื้อปลา ถั่ว นม ชีส โยเกิร์ต

     • ถ้าหากจะรับประทานอาหารว่างลดอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ให้รับประทาน ผัก ผลไม้แทน

     • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

     • ทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน Dental Floss

     • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

 

     สิ่งที่ไม่ควรรับประทาน

     • ไม่ควรให้น้ำตาลสัมผัสฟันนานๆ ลดการอมลูกอม ขนมกรอบๆ เหนียวๆ ติดฟัน

     • น้ำอัดลม (Soft drink) มีน้ำตาลเยอะมาก 1 กระป๋อง บางยี่ห้อมีน้ำตาล 11 ช้อนกาแฟ ควรดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม
อย่าดื่มน้ำอัดลมทุกมื้ออาหาร

     • ไม่สูบบุหรี่ เพราะมีผลต่อ ฟันเปลี่ยนสี เสี่ยงต่อโรคเหงือก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในช่องปาก ลำคอ

กุญแจสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่จะไม่กินพวกแป้ง น้ำตาลเลย แต่ต้องระวังในการกินและคิดก่อนกินทุกครั้ง เพราะอาหารมีผลต่อสุขภาพของเรา ถ้าเราสามารถควบคุมการกินแป้งและน้ำตาล กินผักให้เป็นนิสัยก็จะส่งให้สุขภาพของเราดี ยิ้มได้อย่างสวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาการของฟันคุด

ฟันคุด เป็นลักษณะของฟันกรามแท้ โผล่ขึ้นไม่พ้นกระดูกและเหงือก
     
         อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ผลกระทบจากฟันข้างเคียงที่บดบังทำให้ไม่สามารถขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอายุ 18-25 ปี ลักษณะของฟันคุด บางคนอาจอาการบวมที่หน้า , ปวดบวมบริเวณเหงือก , อักเสบและติดเชื้อ , เป็นฝีในช่องปาก , คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันและซอกเหงือก , การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก , โรคเหงือกและขากรรไกร และยังสามารถทำให้เกิดฟันผุได้ง่ายเนื่องจากเป็นอุปสรรคในการทำความสะอาด